ข้อสรุปการเสียภาษีของ Cryptocurrencyข้อสรุปการเสียภาษีของ Cryptocurrency
ปฏิเสธไม่ได้เลยว่าในปีที่ผ่านมา Cryptocurrency กลายเป็นข่าวดังไปทั่วโลกมีตั้งแต่เรื่องการเงินไปจนถึงเทคโนโลยีสมัยใหม่ที่มีผู้นิยมใช้เพิ่มขึ้นอย่างแพร่หลายแบบก้าวกระโดด และยังมีมิจฉาชีพที่ใช้ Cryptocurrency เป็นเครื่องมือในการหลอกลวงในการลงทุน ทำให้ทางกระทรวงการคลังของไทยเร่งศึกษาเพื่อเข้ามาดูแลความเรียบร้อยประกอบกับการคิดภาษีสำหรับทรัพย์สินดิจิตอลประเภทนี้จนเกิดเป็นประมวลกฎหมายรัษฎากรฉบับใหม่ออกมา ซึ่งสามารถสรุปความสั้น ๆ สำหรับผู้ที่ต้องเสียภาษีเกี่ยวกับคลิปโต currency ดังต่อไปนี้ รายได้จากการซื้อขายเหรียญคริปโตเคอเรนซี่นั้นถูกจัดให้เป็นเงินได้ประเภทที่ 4 ซึ่งเป็นดอกเบี้ยหรือเงินปันผลจากการลงทุนจึงหักค่าใช้จ่ายไม่ได้เลยยกเว้นกรณีที่มีการลงทุนซื้อเหรียญคริปโตเคอเรนซี่จากแหล่งธนาคารที่เชื่อถือได้และมีเอกสารกำกับเพื่อใช้เป็นหลักฐานในต้องยื่นเสียภาษี ส่วนกำไรที่ได้จากการซื้อหรือขายคอยนั้นจะถูกหักภาษี 15% ตามมาตรา 40(4) และ 50(2) ของประมวลกฎหมายรัษฎากร ซึ่งการหักภาษีตรงนี้จะเกิดขึ้นในระหว่างที่นักลงทุนซื้อ Cryptocurrency จากธนาคารรายใหญ่หรือจะเรียกว่าถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายในอัตรา 15% ก็ได้ เนื่องจาก Cryptocurrency สามารถซื้อและขายในหมู่บุคคลทั่วไปได้ง่าย ๆ โดยไม่ต้องผ่านคนกลางและยังถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายไปแล้วในขั้นตอนที่ซื้อคริปโตเคอเรนซี่จากธนาคารรายใหญ่แต่อย่างไรก็ตามเมื่อสิ้นปีภาษีแล้วนักลงทุนก็มีหน้าที่ยื่นเสียภาษีประจำปีภาษีนั้นอยู่ดีแต่สามารถใช้เอกสารประกอบการถูกหักภาษี ณ ที่จ่ายมาเป็นเอกสารประกอบการลดหย่อนภาษีได้